บทบาททางสังคม ของ สุรชัย คัมภีรญาณนนท์

ด้านการศาสนา

ปี พ.ศ. 2458 สุรชัยได้อุปสมบท ณ วัดเขาบางทราย พระอารามหลวง ตามคำร้องขอของผู้เป็นยายและพระวินัยธรรม (เภา โสภิโต) วัดเขาบางทราย พระอารามหลวง ด้วยเกรงจะไปนับถือศาสนาอื่น โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) หรือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุล สุนทรนายกตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุลคัมภีรญาณสุนทร มหาอุตดรคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี (เจริญ ญาณวโร) ซึ่งขณะนั้นเป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ถือเป็นสัทธิวิหาริก ลำดับที่ 390 โดยได้รับประทานฉายาว่า “คัมภีรญาโณ

สุรชัยได้อุปสมบท เป็นระยะเวลา 5 เดือน ระหว่างบวชได้พยายามศึกษาพระพุทธศาสนา จนมีความรู้สอบได้ในวินัยบัญญัติธรรมวิภาค และพุทธานุพุทธประวัติ เมื่อมีเวลาว่าง พระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ (เอี่ยม เมฆิโย) เจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง [17][18] ได้ขอให้ช่วยสอนภาษาอังกฤษแก่นักเรียนวัดเขาบางทราย ในจำนวนศิษย์ที่สอน มีนายแพทย์ สง่า วิชพันธ์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี [19] รวมอยู่ด้วย

สุรชัยเป็นผู้ที่มุ่งมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ให้ความอุปถัมภ์และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยเป็นศรัทธาหลักของวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง ในช่วงบั้นปลายชีวิต สุรชัยจะทำวัตรสวดมนต์ที่วัดใหญ่อินทาราม ซึ่งอยู่หลังที่พำนักเสมอ

ด้านธุรกิจ

ปี พ.ศ. 2461 สุรชัยได้สมรสกับเทียน ภริยาคนที่ 2 ที่บ้านตลาดพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และได้เริ่มกิจการค้าขายที่ท่าแม่น้ำบางปะกง ตลาดท่าตะกูด อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นเวลา 3 เดือน ก่อนย้ายมาค้าขายที่ตลาดบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ชื่อร้าน “คัมภีรญาณ” ตามฉายาที่ได้รับประทานจาก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ต่อมาเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น จึงได้ขยายกิจการโดยค้าขายทุกอย่างตั้งแต่อาวุธปืน เครื่องชั่งตวง จักรเย็บผ้า น้ำตาล (รับมาจากโรงหีบของกำนันฮวด) และเครื่องสังฆทาน

ด้านการเมือง

สุรชัยได้เริ่มเข้าสู่การเมืองของเมืองชลบุรี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของเมืองชลบุรี จากช่วงที่ 2 (หลัง พ.ศ. 2440 - 2475) มาเป็นช่วงที่ 3 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) ดังนี้ [20][21]

  • ปี พ.ศ. 2473 เมื่ออายุ 37 ปี ได้รับการแต่งตั้งจากพระยาพิพิธอำพลวิมลราชภักดี เจ้าเมืองชลบุรี ให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จนถึงปี พ.ศ. 2478 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านได้ถูกยุบเลิก เพราะมีการยกฐานะตำบลบางปลาสร้อย ตำบลมะขามหย่ง และตำบลบ้านโขกขึ้นเป็นเทศบาลเมืองชลบุรี
  • ปี พ.ศ. 2478 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเทศมนตรีเมืองชลบุรี ในสมัยเริ่มแรก โดยมีหลวงธำรงธุระราษฎร์ เป็นนายกเทศมนตรี จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบจากการแต่งตั้งเป็นการเลือกตั้ง

ด้านสาธารณประโยชน์

สุรชัยเป็นผู้มีจิตกุศล ได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและการสาธารณกุศล อาทิเช่น ในปี พ.ศ. 2500 ได้บริจาคสร้างตึกคนไข้พิเศษ ชื่อตึก “คัมภีรญาณนนท์” ณ โรงพยาบาลชลบุรี และในปี พ.ศ. 2517 ได้สร้างกุฎีคัมภีรญาณนนท์ ถวายวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่เก็บอัฐิของสุรชัย ฯลฯ สุรชัยได้ทำคุณประโยชน์แก่จังหวัดชลบุรีอย่างมาก มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติคุณความดี ได้แก่ ถนนสุรชัย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และสะพานคัมภีรญาณนนท์ ซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตสัญจรขนาดเล็ก

ใกล้เคียง

สุรชัย จันทิมาธร สุรชัย ไกรวาปี สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ สุรชัย สมบัติเจริญ สุรชัย คัมภีรญาณนนท์ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ สุรชัย ศิริสูตร์ สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ สุรชัย แสงมรกต

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุรชัย คัมภีรญาณนนท์ http://161.200.145.125/bitstream/123456789/24683/4... http://164.115.27.97/digital/files/original/7bafa2... http://www.phyathaipalace.org/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E... http://www.skb.ac.th/History.html http://www.mnrh.go.th/th/info.php?act=mnrh&id=2 http://www.cbh.moph.go.th/cbhweb2/index.php http://nma.onab.go.th/index.php?option=com_content... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/B/... https://m.facebook.com/korat.in.the.past/photos/a.... https://pantip.com/topic/37654268